Artificial Intelligence (AI) จะกลายเป็นผู้ให้คำแนะนำที่สำคัญทั้งในการรักษาและการวิจัย
ด้วยความสามารถของ AI ที่สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับสมองของมนุษย์ ก็จะทำให้ AI สามารถเรียนรู้ข้อมูลต่างๆ ในเชิงการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อมาช่วยบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในสายต่างๆ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้ทั้งสำหรับการวินิจฉัยและรักษาอาการเจ็บป่วย รวมถึงการทำวิจัยต่างๆ ให้คืบหน้าขึ้นไปได้อย่างรวดเร็ว
ในแง่มุมของการวินิจฉัยและรักษาอาการเจ็บป่วยนั้น AI สามารถกลายเป็นผู้ช่วยให้แก่บุคลากรในโรงพยาบาลได้ด้วยการนำความรู้ทางการแพทย์และยามาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลของผู้ป่วยในระบบ Electronic Health Record และข้อมูล Digital Image เพื่อแนะนำแนวทางการรักษาได้แบบ Real-time ซึ่งจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยเป็นไปได้อย่างดียิ่งขึ้น, ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาลง และทำให้ขั้นตอนต่างๆ ในการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลลดลงเป็นอย่างมาก
ภายในปี 2020 การวินิจฉัยโรคที่สามารถตรวจสอบได้ยากอย่างมะเร็งหรือเบาหวานเองก็คาดว่าจะถูกวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที จากการใช้ระบบ Cognitive System ที่จะนำเสนอข้อมูล 3D ของการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆ ได้แบบ Real-time และภายในปี 2025 นั้น AI จะถูกใช้งานอยู่ภายในโรงพยาบาลกว่า 90% ของประเทศสหรัฐอเมริกา และ 60% ของโรงพยาบาลและธุรกิจประกันทั่วโลก และ AI จะมีส่วนช่วยในการรักษาผู้ป่วยกว่า 70% ให้มีราคาถูกลงและมีคุณภาพดีขึ้น